ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลตำบลพรรณานคร
เทศบาลตำบลพรรณานคร ได้กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) เพื่อแสดงสถานการณ์ในอุดมคติ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย ความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า ซึ่งจะสามารถสะท้อนถึงสภาพการณ์ของท้องถิ่นในอนาคต อย่างรอบด้านภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านต่างๆจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ คาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้ “บ้านเมืองน่าอยู่ เคียงคู่วัฒนธรรม นำชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน” และได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา จำนวน ๕ ด้าน ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การบริหารจัดการการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
เป้าหมายการพัฒนา (เป้าประสงค์)
๑) ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจ สนับสนุนการประกอบอาชีพ และการเกษตรกรรม
๒) ส่งเสริมการท่องเที่ยว อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
๓) ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
๔) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูอย่างยั่งยืน
๕) ประชาชนได้รับบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอย่างทั่วถึง
๖) ประชาชนได้รับบริการสาธารณะที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพอย่างทั่วถึง
๗) ชุมชนและสังคมมีความสงบเรียบร้อย
๘) บริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล
ตัวชี้วัด
๑) ประชาชนได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนด้านอาชีพและการเกษตรกรรม
๒) สถานที่ท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรมประเพณีได้รับการส่งเสริมและอนุรักษ์
๓) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
๔) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู
๕) ประชาชนได้รับบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอย่างทั่วถึง
๖) ประชาชนได้รับบริการสาธารณะที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพอย่างทั่วถึง
๗) ชุมชนและสังคมมีความสงบเรียบร้อย
๘) บริหารจัดการเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
ค่าเป้าหมาย
๑) ประชาชนมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและอาชีพด้านการเกษตร
๒) ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรม การท่องเที่ยว
๓) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
๔) การศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน และเกิดการเรียนรู้ต่อเนื่อง
๕) ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมกีฬาและนันทนาการของท้องถิ่น
๖) ประชาชนมีสุขภาพที่ดี
๗) สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติได้รับการฟื้นฟูและอนุรักษ์
๘) มีแหล่งน้ำพอเพียงต่อการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร
๙) ประชาชนได้ใช้เส้นทางคมนาคมที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย ไฟฟ้า ประปา สาธารณูปโภค สาธารณูปการทั่วถึง
๑๐) ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
๑๑) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีธรรมาภิบาล
กลยุทธ์ (แนวทางการพัฒนา)
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
แนวทางที่ ๑ ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการประกอบอาชีพ
แนวทางที่ ๒ พัฒนาการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
แนวทางที่ ๓ อนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปะ ศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
แนวทางที่ ๔ ส่งเสริมการท่องเที่ยว
แนวทางที่ ๕ จัดให้มีการบำรุงรักษาสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ
แนวทางที่ ๖ พัฒนาตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และส่งเสริมคุณภาพชีวิต
แนวทางที่ ๑ การจัดการศึกษาและสนับสนุนส่งเสริมการศึกษา
แนวทางที่ ๒ ส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ
แนวทางที่ ๓ การสงเคราะห์ การส่งเสริมสวัสดิการ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
แนวทางที่ ๔ ส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันควบคุมโรค
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การบริหารจัดการการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางที่ ๑ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางที่ ๒ การจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชน
แนวทางที่ ๓ พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน
แนวทางที่ ๑ ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษา ถนน สะพาน ทางเท้า ท่อ/ทางระบายน้ำ
แนวทางที่ ๒ ขยายเขตไฟฟ้า ประปา ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
แนวทางที่ ๑ รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
แนวทางที่ ๒ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
แนวทางที่ ๓ การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวทางที่ ๔ ส่งเสริมประชาธิปไตย และกระบวนการประชาสังคม
แนวทางที่ ๕ พัฒนาองค์กรและบุคลากร
แนวทางที่ ๖ การจัดหาและพัฒนารายได้
แนวทางที่ ๗ ปลูกฝังจิตสำนึกประชาชนในชาติให้มีความจงรักภักดีในสถาบัน
แนวทางที่ ๘ การพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานอื่น
แนวทางที่ ๙ การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล
|