เทศบาลตำบลพรรณานคร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร : www.pnk.go.th
 
 
ข่าวประชาสัมพันธ์


ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น

    รายละเอียดข่าว

ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น

ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น

โดย

เทศบาลตำบลพรรณานคร

อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

 

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราชการ 2560 มาตรา 57 รัฐต้อง (1)

อนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นและของชาติ และจัดให้มีพื้นที่สาธารณะ สาหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ใช้สิทธิและมีส่วนร่วมในการดาเนินการด้วย ภูมิปัญญาไทยมีความสาคัญอย่างยิ่ง ช่วยสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงสร้างความภาคภูมิใจและศักดิ์ศรีเกียรติภูมิ แก่คนไทย สามารถปรับ ประยุกต์หลักธรรมคาสอนทางศาสนาใช้กับชีวิตได้อย่างเหมาะสมสร้างความสมดุลระหว่างคนกับสังคม และธรรมชาติได้

อย่างยั่งยืน ช่วยเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิถีชีวิตของคนไทยให้เหมาะสมได้ตามยุค

งานส่งเสริมการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำนักปลัดเทศบาลตำบลพรรณานคร ได้เล็งเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงได้ทำโครงการสำรวจฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น

ปราชญ์ชาวบ้าน หรือปราชญ์ท้องถิ่น เพื่อจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน หรือปราชญ์ท้องถิ่น เพื่อสืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญและมีประโยชน์ไว้ไม่ให้ สูญหายไปจากชุมชน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน หรือปราชญ์ท้องถิ่นเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนในการศึกษาหาความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นปราชญ์ชาวบ้าน หรือปราชญ์ท้องถิ่นต่อไป

 

ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายร่วมถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้าน คิดค้นขึ้นแล้วนำมาปรับปรุง

แก้ไขพัฒนาแก้ปัญหา เป็นทั้งสติปัญญาและองค์ความรู้ทั้งหมดของชาวบ้าน ดังนั้น จึงมีความ

ครอบคลุมเนื้อหาสาระและแนวทางดำเนินชีวิตในวงกว้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่นประกอบไปด้วยองค์

ความรู้ในหลายวิชา ดังที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2541) ได้จำแนกไว้รวม

10 สาขา คือ

1. สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และ

เทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐาน คุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึ่งพา

ตนเองในสภาวการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญญา การเกษตร

เป็นต้น

2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (ด้านการผลิตและการบริโภค) หมายถึง การรู้จัก

ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิตเพื่อ ชะลอการนำเข้าตลาด เพื่อแก้ปัญหาด้าน

การบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรมอันเป็นกระบวนการให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถ

พึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิตและการจัดจำหน่ายผลผลิตทางหัตถกรรม เช่น

การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารา กลุ่มหัตถกรรม และอื่นๆ เป็นต้น

3. สาขาการแพทย์ไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพ

ของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้

4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความสามารถเกี่ยวกับ

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งอนุรักษ์ การพัฒนาและใช้ประโยชน์จากคุณค่า

ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในด้านบริหารจัดการค้าการ

สะสมและบริการกองทุนและธุรกิจในชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์เพื่อเสริมชีวิตความ

เป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน

6. สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิต

ของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม

7. สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะ สาขาต่างๆ

เช่น จิตกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ เป็นต้น

8. สาขาจัดการ หมายถึง ความสามารถในการบริหารการจัดการดำเนินงาน ด้านต่างๆ ทั้งขององค์กรชุมชน องค์กรทางสังคมอื่นๆ ในสังคมไทย เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้าน

ระบบผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน เป็นต้น กรณีของการจัดการศึกษาเรียนรู้ นับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาสาขา

การจัดการที่มีความสำคัญ เพราะการจัดการศึกษาเรียนรู้ดี หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ พัฒนา

และถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาไทยที่มีประสิทธิผล

9. สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษา ทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทย และการใช้ ภาษา ตลอดทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท

10. สาขาศาสนาและประเพณี หมายถึง ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรม

คำสอนทางศาสนาความเชื่อและประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่า ให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติให้

บังเกิดผลดีต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม เช่น การถ่ายทอดหลักศาสนา การบวชป่า การประยุกต์

ประเพณี บุญประทายข้าว เป็นต้น

 

ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

การนับถือศาสนา

ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลพรรณานคร นับถือศาสนาพุทธ สถาบันและองค์กรทาง

ศาสนาในพื้นที่ ประกอบด้วยวัด 6 แห่ง สำนักสงฆ์ 1 แห่ง พิพิธภัณฑ์ 1 แห่ง ได้แก่

1. วัดโพธิ์ชัย หมู่ 1 บ้านม่วงไข่

2. วัดป่าภูไทสามัคคี หมู่ 1 บ้านม่วงไข่

3. วัดป่าอุดมสมพร หมู่ 4 บ้านนาหัวช้าง

4. วัดพระธาตุโพนทอง หมู่ 5 บ้านบะทอง

5. วัดสกลธรรมมงคล หมู่ ๑๓ บ้านหนองอ้อ

6. วัดป่ากลางโนนภู่ หมู่ ๗ บ้านเม็ก

7. สานักสงฆ์หลวงจำนงค์ราชกิจ หมู่ 10 บ้านน้อยโนนจำนงค์

8. พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร หมู่ ๔ บ้านนาหัวช้าง

 

ประเพณีและงานประจำปี

ประชากรส่วนใหญ่ เชื้อชาติเดิมเป็นภูไท มีบุญประเพณีที่ถือปฏิบัติเป็นประจำแต่ละเดือน ดังนี้

เดือนอ้าย บุญสู่ขวัญข้าว คือ เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จเรียบร้อย จะนำข้าวส่วนหนึ่งตามศรัทธาไปรวมกันที่วัดแล้วนิมนต์พระมาสวดทำพิธีเพื่ออัญเชิญคุณข้าว

เดือนสาม บุญข้าวจี่ คือ เมื่อถึงวัน ๑๕ ค่ำ เดือนสาม จะนำข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนแล้วนำไปจี่ โดยนำข้าวจี่ไปตักบาตร

เดือนสี่ บุญพระเวส คือ บุญประเพณีที่ทำกันอย่างใหญ่โต มีการแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง มีการเทศน์มหาชาติและการขอฟ้าขอฝน

เดือนห้า บุญสงกรานต์ คือ บุญประเพณีประจำปี ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๒-๑๕ เมษายน ของทุกปี มีการทำบุญสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุและผู้ที่เคารพนับถือ รวมทั้งการขอพรจากผู้สูงอายุ ผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้าน

เดือนแปด บุญเข้าพรรษา คือ บุญประเพณีที่ชาวบ้านจะไปทำบุญ แห่เทียน ผ้าอาบน้ำฝนถวายพระที่วัด เพื่อพระสงฆ์จะได้จำพรรษาได้ตลอด ๓ เดือน

เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน คือ บุญประเพณีที่ชาวบ้านจะนำข้าวปลาอาหารไปทำบุญที่วัดและแบ่งข้าวปลาอาหารจำนวนหนึ่ง ไปบูชาดิน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพื้นดิน

เดือนสิบ บุญข้าวสารท คือ บุญประเพณีที่ชาวบ้านจะนำข้าวห่อเล็ก อาหารหวานคาว และกระยาสารท ซึ่งทำจากข้าวตอก ถั่ว งา น้ำตาล มะพร้าว คลุกให้เข้ากัน นำถวายพระ

เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา คือบุญประเพณีที่เมื่อถึงวันออกพรรษา ชาวบ้านจะไปเวียนเทียนที่วัด ก่อนวันออกพรรษา บางหมู่บ้านจะมีการแห่ปราสาทผึ้ง โดยนำขี้ผึ้งมาทำเป็นรูปปราสาทแห่ไปถวายวัด รุ่งขึ้นจึงเป็นวันออกพรรษา ในตอนเช้าจะมีการทำบุญตักบาตร

เดือนสิบสอง บุญกฐิน คือ บุญประเพณี เมื่อออกพรรษาแล้ว ทุกหมู่บ้านจะมีการทอดกฐินถวายที่วัดในหมู่บ้าน หรือวัดอื่นๆ ตามศรัทธา ส่วนบุญผ้าป่านั้นจะทำได้ทุกเดือนตามแต่ศรัทธา

ความเชื่อ ประชากรส่วนใหญ่มีความเชื่อที่ถือปฏิบัติกันเป็นประจำ คือ การนับถือผี เช่น ผีหลักเมือง ผีปู่ตา หมอเหยา หมอดู ผีบ้านผีเรือน ผีป่า ผีนา ฯลฯ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ ได้แก่ การจักสาน การทอผ้า ทอเสื่อ ซึ่งเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ที่น่าสนใจ เนื่องจากมีการผลิตตลอดปี วัสดุในการจักสานสามารถหาได้ในท้องถิ่น หมู่บ้านที่ดำเนินการ ได้แก่ หมู่ที่ ๑ – ๑๓ นอกจากนี้ในพื้นที่หมู่ ๔,๕,๘,๙,๑๐ มีการทอผ้าฝ้าย ข้อจำกัดยังขาดการเชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการประชาสัมพันธ์และการตลาด ภาษาถิ่นที่ใช้ ได้แก่ ภาษาภูไท และภาษาลาว

 



    เอกสารประกอบ

ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
 
    วันที่ลงข่าว
: 20 พ.ค. 2563
    ผู้ลงข่าว : ผู้ดูแลระบบ